ภาษาไทย

ภาษาไทย

ประวัติอำเภอแม่สอด

อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 
ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขาระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยทิวเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาฝั่ง
ประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจาก
อำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาและบุตรเป็นคนไทยด้วย อำเภอแม่สอดอยู่ห่างจาก
 อำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร
  แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุด
ผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของ
อำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มี
ผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของ
 สุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ใน
ป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้
 ที่ตั้งและอาณาเขต
 แม่สอดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 42 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และ
เส้นแวงที่ 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล116.2 เมตร ณ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สอด
อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของ
จังหวัดตาก รองจากอำเภออุ้มผาง และอำเภอสามเงา
 อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 3 อำเภอ และ 1 รัฐในประเทศพม่า ดังนี้
  #  ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
  #  ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอพบพระ จังหวัดตาก
  #  ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
      โดยมีเทือเขาถนนธงชัยเป็นแนวกั้นเขต
  #  ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง สหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำเมยเป็นกั้นพรมแดน
ลักษณะภูมิประเทศ
 อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406,650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อน
สลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณ
ร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่
ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด
ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้น
พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
 สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอแม่สอด ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทยประกอบ
ด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับ
ซับซ้อนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตากตะวันออก คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และ
อำเภอวังเจ้า ส่วนฝั่งตากตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง
 ส่วนที่เป็นที่ราบต่ำถึงเป็นลอนลาด มีความสูงอยู่ระหว่าง 80-200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมเนื้อที่
ร้อยละ 16 ของจังหวัด บริเวณที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชันมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่
ร้อยละ 10.5 ของจังหวัด
 พื้นที่ที่เหลือเป็นเนินเขาเตี้ยไปจนถึงภูเขาสูง ซึ่งในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง 300-700 เมตรจาก
ระดับน้ำทะเลอยู่ร้อยละ 34.8 ของจังหวัด และมีความสูงมากกว่า 700-2,200 เมตร อยู่ร้อยละ 38.4 ของจังหวัด
ยอดเขาสูงสุดทางตะวันออกของอำเภอท่าสองยางที่เคยวัดได้ มีความสูง 1,752 เมตร และยอดเขาสูงสุด
ทางตะวันออกของอำเภออุ้มผางที่เคยวัดได้มีความสูง 1,898 เมตรจากระดับน้ำทะเล

 มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่

การคมนาคม
1. ทางบก
 - ทางรถยนต์
 รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วเข้าทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท
เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านเข้ากำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะ
ทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง จากอำเภอเมืองตากใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 
ถึงอำเภอแม่สอด ระยะทางอีกประมาณ 86 กิโลเมตร โดยใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

  ส่วนเส้นทางแม่สอด-พบพระ-อุ้มผาง ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางช่วงนี้เป็นภูเขาสลับ
ซับซ้อน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ไม่ควรเดินทางกลางคืน รวมการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงอุ้มผางประมาณ
9 ชม.
- ทางรถไฟ
 โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 68.8 กิโลเมตร สถานีต้นทาง สถานีรถไฟวิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
สถานีปลายทาง สถานีรถไฟชายแดนไทย-พม่า บ้านริมเมย
 - ทางรถโดยสารประจำทาง
 สถานีขนส่งแม่สอด เป็นศูนย์กลางเชื่อมการขนส่งอำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด พบพระ และอุ้มผาง ซึ่งเป็น
อำเภอชายแดนก่อนเชื่อมตัวเมืองตาก จังหวัดอื่น และกรุงเทพมหานคร มีรถขนส่งสาธารณะผ่านสถานีขนส่งแม่สอด
14 สาย เดินรถวันละ 373 เที่ยว ผู้ใช้บริการกว่า 3,500 คนต่อวัน ในขณะที่แม่สอดยังเชื่อมการขนส่งข้ามแดนไทย-พม่า
ที่เมียวดี ฝั่งตรงข้าม วันละ 120 เที่ยว ผู้ใช้บริการกว่า 1,500 คน ขณะเดียวกันการค้าชายแดนไทย-พม่า สูงถึงปีละกว่า
12,000 ล้านบาท

 เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้ากับกลุ่มเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงและอ่าวเบงกอล (GMS and BIMSTEC)
และจุดเชื่อมการขนส่งแนวถนนระเบยียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-west Economic Corridor) ตามแผนความ
ร่วมมือพัฒนาของไทย กับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และอินโดจีน รวมถึงการรองรับการเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน เขต
นิคมอุตสาหกรรม แม่สอดมหานครฝั่งตะวันตกและการผลักดันยกฐานะแม่สอดเป็น จังหวัด

2. ทางอากาศ
 ท่าอากาศยานแม่สอด เป็นสนามบินอนุญาต ที่ตั้ง Location Indicator VTPM ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด
จังหวัดตาก พิกัด ละติจูด 164159N ลองติจูด 0983237E หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองทัพอากาศ และกรมการขนส่ง
ทางอากาศ กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมี4สายการบินให้บริการอยู่ โซล่าแอร์ แฮปปี้แอร์ นกแอร์ กานต์แอร์ ให้บริการ

3. ทางน้ำ
 ในอำเภอแม่สอด มีบริการเรือยนต์และแพข้ามฟากแม่น้ำเมย ระหว่างไทย-พม่า เฉพาะฝั่งไทย การขนสินค้าเข้าออก
จะขนผ่าน 19 ท่าข้าม ที่ได้รับอนุมัติเป็นคลังสินค้าชั่วคราวตามกฎหมายศุลกากร ซึ่งเป็นการขนสารพัดสินค้าที่ผ่านพิธีการ
ทางศุลกากรของไทยแล้ว แต่บางประเภท ก็จำเป็นต้องขนส่งผ่านท่าข้าม เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีของพม่า ที่มีการตั้งไว้สูง
เพราะระบุไว้เป็นสินค้าห้ามนำเข้า




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น