สังคมศึกษา

สังคมศึกษา

                                                                                 ประวัติตาลเฮือนน้อย


ตานเฮือนน้อย หรือบางทีเรียกว่า ปอยข้าวสังข์ เป็นพิธีกรรมของชาวบ้านทางภาคเหนือ คำว่า เฮือนน้อย เป็นภาษาถิ่น หมายถึงบ้านน้อย ในที่นี้หมายถึงเล็ก ตาน หมายถึง ถวายทานนั่นเอง

ตานเฮือนน้อย หมายถึง การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยการสร้างบ้านจำลองหลังเล็กๆไปให้ เป็นความเชื่อของ คนไทยภาคเหนือกลัวว่า คนเมื่อตายไปแล้วอาจจะตกทุกข์ได้ยาก อดอยากหรือได้รับทุกข์เวทนาดังนั้นญาติพี่น้อง หรือบิดามารดา จึงได้ทำบุญ โดยการตานเฮือนน้อยไปให้ ถ้าไม่ตานเฮือนน้อยก็จะทำบุญอุทิศให้โดยการตานขันข้าว คืออาหารคาวหวาน ๑ สำรับก็ได้

สถานทีในการทำพิธี : ส่วนมากนิยมทำกันที่บ้าน โดยการนิมนต์พระไปเทศที่บ้าน การกำหนดวันการตานเฮือนน้อยนั้นแล้วแต่เจ้าภาพผู้จัดงานจะกำหนดวัน ดังต่อไปนี้คือ ทำพิธีหลังจากผู้ตาย ตายไปแล้ว ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หริอ ๑ ปี โดยจะทำพิธี ๑ วัน ในตอนเช้า หรือก่อนเพล ถ้าหลังเพลไปแล้วคือช่วงบ่าย จะไม่นิยมประกอบพิธีเพราะพระสงฆ์มักจะไม่รับประเคนหลังเพล

วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศไปให้แก่ผู้ตาย เพื่อเขาจะได้รับสิ่งของต่างๆ ที่ญาติพี่น้องทำบุญส่งไปให้

องค์ประกอบของเฮือนน้อย : เฮือนน้อยจะสร้างด้วยไม้เป็นรูปทรงบ้านเล็กๆ แล้วนำพลาสติกหรือกระดาษขาวห่อหุ้มเป็นรูปบ้าน บางทีเจ้าภาพอาจจะจัดหาโต๊ะใหญ่เป็นฐานที่ตั้งของเฮือนน้อย เมื่อทำพิธี เสร็จแล้วพระสงฆ์ก็จะได้นำโต๊ะนั้นไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป

สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่จำเป็นต้องมีในครอบครัว : คนเราโดยทั่วๆไป อันได้แก่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ถ้าทำบุญถึงผู้ชายก็จะมี เครื่องแต่งกายของผู้ชาย ซึ่งตอนที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่นั้นเขาชอบสวมใส่ สิ่งของนอกจากนี้ก็มีมุ้ง หมอน เสื่อ ผ้าห่ม รองเท้า ฯ และของใช้ที่เกี่ยวกับครัวเรือน เช่น ถ้วย จาน ช้อน ขวดน้ำ กาต้มน้ำ กระติกน้ำ ฯลฯ ตามแต่จะเห็นสมควร

สิ่งของที่จะทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายนี้จะต้องเป็นของใหม่ ได้แก่ อาหารคาวหวาน ๑ สำรับ หรือ ๑ ปิ่นโต เป็นอาหารที่ผู้ตายชอบรับประทานตอนที่ยังมีชีวิตอยู่

พิธีกรรม :
๑) เจ้าภาพอาจจะเชิญแขกและญาติพี่น้องที่คุ้นเคยให้มาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยก็ได้สำหรับการแต่งกายในวันตานเฮือนน้อยนั้น ให้แต่งกายสุภาพ ไม่กำหนดว่าต้องเป็นสี ขาวหรือดำ
๒) ก่อนถึงวันตาน เจ้าภาพอาจจะนิมนต์พระไว้ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย ๕ วัน เพราะถ้านิมนต์ใกล้กำหนดวันงานพระท่านอาจ จะติดนิมนต์ที่อื่นแล้วก็ได้ ส่วนพระที่จะ ให้ไปทำพิธีนั้นเจ้าภาพอาจจะกำหนดเอาเจ้าอาวาสไปเอง หรือให้พระท่านจัดหาไปให้ก็ได้ การนิมนต์พระมาทำพิธีนั้นอาจจะนิมนต์ ๑ องค์ ๕ องค์ หรือ ๙ องค์ก็ได้ แล้วแต่ศรัทธา
๓) การเทศน์ธรรมในพิธีตานเฮือนน้อยนั้น จะให้พระท่านเทศฯ์ธรรม นิพพานสูตร หรือเทศน์มหาวิบากก็ได้ แล้วแต่เจ้า อาวาสจะกำหนดตอนที่ไปนิมนต์พระนั้น ให้บอกด้วยว่าจะให้เทศน์ธรรมอะไร
๔) เมื่อถึงวันทำพิธีจะมีอาจารย์ถวายสังฆทานก่อน (อาจารย์ในที่นี้หมายถึง ชาวบ้านธรรมดาซึ่งมักเป็นคนแก่ผู้ชาย) เมื่อกล่าว ถวายสังฆทานเสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็จะเทศน์ธรรม นิพพานสูตร หรือเทศน์มหาวิบาก
๕) เมื่อทำพิธีตานเฮือนน้อยเสร็จแล้ว ของที่เป็นเครื่องตานทุกอย่าง ก็ถวายให้แก่พระสงฆ์ที่มาเทศก์ทั้งหมด
คำไหว้พระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
คำอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
คำสมมาคครัวทาน
อะหัง วันทามิ สัพพะวัตถุนัง สัพพัง โทสัง ขะมะถะ
เมกันเต๋ฯ สาธุ โอกำสะ ข้าแด่สิปิปะเครื่องตาน
สะหะปะริวารหลายหลาก หร้อมตุ๊กภาคนานา
อันศรัทธาผู้ข้าตังหลาย ได้ขงขวายมาตกแต่ง
สัปป๊ะแห่งตานา อันหาได้มาโดยชอบ
ผะกอบด้วยเจ๋ตนา
นมัสการพระรัตนตรัย
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง) 
กราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวัณตัง อภิวาเทมิ
(กราบ)
สะวาคะโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นมัสสามิ
(กราบ)
สุปฏิปัณโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังณะมามิ
(กราบ)

อิมินาสักกาเรนะ พุทธังอะภิปูชะยามิ
            อิมินาสักกาเรนะ ธัมมังอะภิปูชะยามิ
            อิมินาสักกาเรนะ สังฆังอะภิปูชะยามิ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น